วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

2.2 คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

เพิ่มเพื่อน
รับแนวข้อสอบผ่าน Line ทุกวัน ..


“คุณธรรม” (Moral) หมายถึง สภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว
จริยธรรม (Ethics) คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
ค่านิยม(Values) หมายถึง สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปราถนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินชีวิต

ฆราวาสธรรม 4 หมายถึง  หลักธรรมที่ผู้ครองเรือนควรปฏิบัติ คุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส และพระราชทานเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ มีอายุครบ 200 ปี มี  4  ประการ  คือ
1. สัจจะ  คือ  ความซื่อสัตย์  ความจริงใจ  ความซื่อตรงต่อกัน
2. ทมะ  คือ  การข่มใจ  การฝึกฝนตนเองไม่ให้ประพฤติชั่ว
3. ขันติ  คือ  ความอดทน  หมายถึง  ความอดทนต่อสิ่งที่ไม่ดี  อดทนต่อความยากลำบาก
4. จาคะ  คือ  การเสียสละ  การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
หลักทศพิธราชธรรม  10  ประการ
เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่ โบราณกาล แด่นักบริหาร 
1.  ทาน  คือ การให้ปัน  ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
2.  ศีล  ได้แก่การสำรวม  กาย  วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3.  บริจาค  ได้แก่  การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อน
ของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข
4.  อาชวะ  ได้แก่  ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม
5.  มัทวะ  ได้แก่  ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ
6.  ตบะ ได้แก่  การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ
7.  อโกรธะ  ได้แก่  ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ
8.  อวิหิงสา ได้แก่  การไม่เบียดเบียนคนอื่น
9.  ขันติ  ได้แก่  ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ  ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น
10. อวิโรธนะได้ แก่  การธำรงรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม
กัลยาณมิตร 7 หมายถึง คุณธรรม 7 ประการสำหรับมิตรแท้ เพื่อนแท้
1. ปิโย คือ ความน่ารัก หมายถึง มีเมตตากรุณา ใส่ใจคนและประโยชน์สุขของเขา เข้าถึงจิตใจและสร้างความสนิทสนมเป็นกันเอง
2. ครุ คือ น่าเคารพ หมายถึง เป็นผู้หนักแน่น ถือหลักการเป็นสำคัญ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้รู้สึกอบอุ่นใจและเป็นที่พึ่งได้
3. ภาวนีโย คือ น่าเจริญใจ หมายถึง มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง เป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอและเป็นที่น่ายกยกเอาแบบอย่าง
4. วตฺตา คือ รู้จักพูดให้ได้ผล หมายถึง รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรทำอะไร คอยให้คำแนะนำตักเตือนและเป็นที่ปรึกษาที่ดี
5. วจนกฺขโม คือ อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึง พร้อมรับฟังคำปรึกษาซักถาม อดทนต่อคำล่วงเกิน คำตักเตือนและอดทนฟังได้ไม่เสียอารมณ์
6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา คือ แถลงเรื่องล้ำลึกได้ หมายถึง กล่าวชี้แจงเรื่องต่างๆ ที่ยุ่งยากลึกซึ้งให้เข้าใจได้ง่าย
7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย คือ ไม่ชักนำในอฐาน หมายถึง ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหล

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

อิทธิบาท 4 คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น



พรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา            ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา             ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา             ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา          การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม

อคติ 4 หมายถึง ความไม่เที่ยงธรรม ความลำเอียง 4 ประการ ประกอบด้วย
+ ฉันทาคติ ลำเอียง เพราะความรักใคร่ชอบพอ สนับสนุนญาติมิตร หรือผู้จ่ายสินบน
+ โทสาคติ ลำเอียง เพราะความโกรธเกลียด ลงโทษฝ่ายที่ตนเกลียดชังมากกว่า
+ โมหาคติ ลำเอียง เพราะความหลงหรือความโง่เขลา ไม่รู้ทันเหตุการณ์ที่ แท้จริง
+ ภยาคติ ลำเอียง เพราะความขลาดกลัว เกรงใจ เกรงอิทธิพล กลัวจะเสียผลประโยชน์
ใช้ในการปกครองทุกระดับ ถ้าทำได้ จะได้รับความศรัธา เชื่อถือ ปัญหาความแตกแยก ขัดแย้ง เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมก็จะหมดไปในสังคมนั้น

มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

มรรค 8 ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

หิริโอตัปปะ หมายถึง ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นหลักที่คอยเตือนใจเมื่อเราจะทำบาปทั้งปวง


ขันติ โสรัจจะ : ธรรมะที่จะทำตนให้งดงาม
ขันติ คือ ความอดทนต่ออารมณ์ ที่ไม่เป็นที่พอใจไว้ได้  อด คือ ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
โสรัจจะ ได้แก่ ความเสงี่ยม ความรู้จักทำใจให้แช่มชื่น

ขันติ แปลว่า ความอดทน หมายถึง ความสามารถที่จะทนต่อความลำบาก มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำความดี และสามารถควบคุมตนเองได้โดย
๑.     อดทนต่อความยากลำบาก คือ มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ
๒.     อดทนต่อความเจ็บป่วย คือ อดทนต่อความเจ็บป่วยของร่างกายไม่ท้อแท้
๓.     อดทนต่อความเจ็บใจ คือ อดทนต่อการกระทำที่ผู้อื่นล่วงเกินเราโต้ตอบด้วยวิธีสันติ
๔.     อดทนต่อกิเลส คือ อดทนต่อสิ่งต่างๆที่มายั่วยุให้หลงใหล อดทนต่อความโลภ อดทนต่อความโกรธและอดทนต่อความหลง
โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงดงาม ความประณีตความเรียบร้อยรวมถึงความไม่หรูหรา
ขันติ โสรัจจะ เป็นธรรมสองข้อที่ไปด้วยกันเมื่อแปลจะได้ความหมาย ธรรมอันทำให้งาม
คนงาม ต้องงามดังนี้
๑.     มีจิตใจเข้มแข็งน่ายกย่อง
๒.     มีวาจาไม่ก้าวร้าว ไม่หยาบคาย
๓.     มีการกระทำที่อยู่ในกรอบที่เหมาะสม

สติ สัมปชัญญะ ความฉลาดทางอารมณ์ แตกต่างกันอย่างไร ???
สติ แปลว่า ความระลึกได้
สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัว
สติ กับ สัมปชัญญะ อะไรเกิดก่อน ??
สติ เกิดก่อน สัมปชัญญะ ตามมาทีหลัง
ทำงานแยกกันหรือ ประสานกัน ??
สติและสัมปชัญญะ ทำงานประสานกัน
สติจะทำหน้าที่ระลึกได้ ก่อนทำ ก่อนพูด และก่อนคิด
สัมปชัญญะ จะทำหน้าที่รู้สึกตัวแบบเต็มๆขณะที่ทำ ที่พูด และที่คิด

ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการไว้ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2530, หน้า 25-103)
ประการที่ 1 การพึ่งพาตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
ประการที่ 2 การประหยัดและออม
ประการที่ 3 การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
ประการที่ 4 การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
ประการที่ 5 การมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง



 แนวข้อสอบคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม

1.ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เป็นความหมายของคำในข้อใด
          ก.คุณธรรม                                                        
ข.จริยธรรม
          ค.วัฒนธรรม                                                     
ง.ศีลธรรม
ตอบ. ข. จริยธรรม
จริยธรรมคือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
2.สภาพคุณงามความดีในจิตใจ เป็นความหมายของคำในข้อใด
          ก.คุณธรรม                                                        
ข.จริยธรรม
          ค.วัฒนธรรม                                                               
ง.ศีลธรรม
ตอบ. ก.คุณธรรม
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว
3.คุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส และพระราชทานเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงเทพมีอายุครบ 200 ปี ตรงกับหลักธรรมตามข้อใด
          ก.พรหมวิหาร 4                                                  
ข.อริยสัจ 4
          ค.สังคหวัตถุ 4                                                     
ง.ฆราวาสธรรม4
ตอบ. ง.ฆราวาสธรรม 4
ฆราวาสธรรม  หมายถึง  หลักธรรมที่ผู้ครองเรือนควรปฏิบัติ มี  4  ประการ  คือ
1. สัจจะ  คือ  ความซื่อสัตย์  ความจริงใจ  ความซื่อตรงต่อกัน
2. ทมะ  คือ  การข่มใจ  การฝึกฝนตนเองไม่ให้ประพฤติชั่ว
3. ขันติ  คือ  ความอดทน  หมายถึง  ความอดทนต่อสิ่งที่ไม่ดี  อดทนต่อความยากลำบาก
4. จาคะ  คือ  การเสียสละ  การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น

4.ข้อใดไม่เป็นค่านิยมพื้นฐานที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
          ก.การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร                           
ข.การรักษาความสัตย์
          ค.การประหยัด และอดออม                                
ง.การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
ตอบ. ข.การรักษาความสัตย์
ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการไว้ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2530, หน้า 25-103)
ประการที่ 1 การพึ่งพาตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
ประการที่ 2 การประหยัดและออม
ประการที่ 3 การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
ประการที่ 4 การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
ประการที่ 5 การมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

5.นายวีระ เป็นคนที่มีความสุภาพอ่อนโยนมีมนุษยสัมพันธ์ ตรงกับ หลักทศพิธราชธรรม ข้อใด
          ก.อาชวะ                                                            
ข.มัทวะ
          ค.ตะบะ                                                            
ง.อวิหิงสา
ตอบ. ข.มัทวะ
หลักทศพิธราชธรรม  10  ประการ
เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่ โบราณกาล แด่นักบริหาร 
1.  ทาน  คือ การให้ปัน  ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
2.  ศีล  ได้แก่การสำรวม  กาย  วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3.  บริจาค  ได้แก่  การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อน
ของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข
4.  อาชวะ  ได้แก่  ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม
5.  มัทวะ  ได้แก่  ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ
6.  ตบะ ได้แก่  การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ
7.  อโกรธะ  ได้แก่  ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ
8.  อวิหิงสา ได้แก่  การไม่เบียดเบียนคนอื่น
9.  ขันติ  ได้แก่  ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ  ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น
10. อวิโรธนะได้ แก่  การธำรงรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม

6.ครูสุภารัตน์ สอนลูกศิษย์เข้าใจตามประสงค์ที่ตั้งไว้ และสอนด้วยความสนุกสนาน แสดงว่าครูสุภารัตน์ มี คุณธรรมของกัลยาณมิตร  ในข้อใด
          ก.ครุ                                                                 
ข.ภาวนีโย
ค.วัตตา                                                            
ง.วจนขโม
ตอบ. ค.วัตตา
กัลยาณมิตร 7 หมายถึง คุณธรรม 7 ประการสำหรับมิตรแท้ เพื่อนแท้
1. ปิโย คือ ความน่ารัก หมายถึง มีเมตตากรุณา ใส่ใจคนและประโยชน์สุขของเขา เข้าถึงจิตใจและสร้างความสนิทสนมเป็นกันเอง
2. ครุ คือ น่าเคารพ หมายถึง เป็นผู้หนักแน่น ถือหลักการเป็นสำคัญ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้รู้สึกอบอุ่นใจและเป็นที่พึ่งได้
3. ภาวนีโย คือ น่าเจริญใจ หมายถึง มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง เป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอและเป็นที่น่ายกยกเอาแบบอย่าง
4. วตฺตา คือ รู้จักพูดให้ได้ผล หมายถึง รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรทำอะไร คอยให้คำแนะนำตักเตือนและเป็นที่ปรึกษาที่ดี
5. วจนกฺขโม คือ อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึง พร้อมรับฟังคำปรึกษาซักถาม อดทนต่อคำล่วงเกิน คำตักเตือนและอดทนฟังได้ไม่เสียอารมณ์
6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา คือ แถลงเรื่องล้ำลึกได้ หมายถึง กล่าวชี้แจงเรื่องต่างๆ ที่ยุ่งยากลึกซึ้งให้เข้าใจได้ง่าย
7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย คือ ไม่ชักนำในอฐาน หมายถึง ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหล

7.คุณธรรมของครูสังเกตได้ จากอะไร
          ก.การมีเหตุผล                               
ข.การประพฤติปฏิบัติ
          ค.การยอมรับของสังคม     
ง.การยกย่องสรรเสริญ
ตอบ. ข.การประพฤติปฏิบัติ
8.หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นคือข้อใด
          ก.อิทธิบาท 4                                                         
ข.พรหมวิหาร 4
          ค.สังคหวัตถุ 4                                                      
ง.ฆราวาสธรรม 4
ตอบ. ค.สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

9.หลักธรรมที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน คือ หลักธรรมในข้อใด
          ก.พรหมวิหาร 4                                                   
ข.อิทธิบาท 4
          ค.สังคหวัตถุ 4                                                     
ง.คุณธรรม 4
ตอบ. ข.อิทธิบาท 4
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

10.ครูอาคม จูงแขนคนแก่เดินข้ามถนน แสดงว่าครูอาคมมี คุณธรรมตาม ข้อใด
          ก.เมตตา                                                           
ข.กรุณา
          ค.มุทิตา                                                            
ง.อุเบกขา
ตอบ. ข.กรุณา
พรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา            ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา             ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา             ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา          การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม

11.หลักธรรมที่สร้างนุษย์สัมพันธ์ได้ดีที่สุดคือข้อใด
          ก.พรหมวิหาร 4                                                   
ข.อิทธิบาท 4
          ค.สังคหวัตถุ 4                                                    
ง.คุณธรรม 4
ตอบ. ค.สังคหวัตถุ 4
12.ครูสุพรรณ โมโหลูกศิษย์ที่ทำแบบฝึกหัดไม่ได้มากกำลังจะตี แต่คิดได้ว่าเราเป็นครูต้องสอนเขาให้รู้จึงไม่ตีแสดงว่า ครูสุพรรณมีคุณธรรมตามข้อใด
          ก.สัจจะ                                                            
ข.ทมะ
          ค.ขันติ                                                               
ง.จาคะ
ตอบ. ข.ทมะ
ฆราวาสธรรม 4 ธรรมของฆราวาสหรือผู้ครองเรือน บางที่เรียกว่า คฤหัสถ์หรือ ชาวบ้านธรรมดา คือ
     1. สัจจะ    คือความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน จะทำจะพูดอะไรก็ทำหรือพูดด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงคดโกง
     2. ทมะ   คือการรู้จักข่มจิตของตน รู้จักข่มความไม่พอใจเมื่อเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คนอยู่ร่วมกันนานๆ ย่อมต้องมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง ต้องรู้จักข่มไม่แสดงอาการพลุกพล่านหรือเกรี้ยวกราด
     3. ขันติ  คือความอดทน อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ในการศึกษาเล่าเรียน ในการงานอาชีพ
     4. จาคะ คือความเสียสละ สละวัตถุสิ่งของสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากขาดแคลน 

13.ผู้อำนวยการสถานศึกษา ไม่พิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษให้ครูสุริยา เพราะไม่ชอบที่ครูสุริยาชอบแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม แสดงว่าผู้บริหารสถานศึกษามีความลำเอียงในข้อใด
          ก.ฉันทาคติ                                                       
ข.โทสาคติ
          ค.โมหาคติ                                                        
ง.ภยาคติ
ตอบ. ข.โทสาคติ
อคติ 4 หมายถึง ความไม่เที่ยงธรรม ความลำเอียง 4 ประการ ประกอบด้วย
+ ฉันทาคติ ลำเอียง เพราะความรักใคร่ชอบพอ สนับสนุนญาติมิตร หรือผู้จ่ายสินบน
+ โทสาคติ ลำเอียง เพราะความโกรธเกลียด ลงโทษฝ่ายที่ตนเกลียดชังมากกว่า
+ โมหาคติ ลำเอียง เพราะความหลงหรือความโง่เขลา ไม่รู้ทันเหตุการณ์ที่ แท้จริง
+ ภยาคติ ลำเอียง เพราะความขลาดกลัว เกรงใจ เกรงอิทธิพล กลัวจะเสียผลประโยชน์
ใช้ในการปกครองทุกระดับ ถ้าทำได้ จะได้รับความศรัธา เชื่อถือ ปัญหาความแตกแยก ขัดแย้ง เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมก็จะหมดไปในสังคมนั้น
14.ค่านิยมในสังคมไทยข้อใดสมควรได้รับการแก้ไขเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
          ก.ฝนทั่งให้เป็นเข็ม                                             
ข.ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
          ค.คนล่วงทุกได้ด้วยความเพียร                             
ง.ชีวิตเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้
ตอบ. ง.ชีวิตเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้
     - ข้อ ก. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม = ขยัน มุ มุมานะ เป็นค่านิยมที่ดี
     - ข้อ ข. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน = พึ่งตนเอง เป็นค่านิยมที่ดี
     - ข้อ ค. ความเพียรพยายาม เป็นค่านิยมที่ดี
     - ข้อ ง. การที่คนไทยเชื่อว่าชีวิตขึ้นกับบุญและกรรม ทำให้บางครั้งเกิดการเฉื่อยชาอยู่ไปวันๆประเทศไม่พัฒนาเท่าที่ควร

15.ข้อใดสอดคล้องกับ “กฎแห่งกรรม” ในพระพุทธศาสนา
          ก.คนบางคนทำชั่วแต่ได้ดี                                   
ข.ปลูกพืชใดย่อมได้ผลนั้น
          ค.สรรพสิ่งดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบ                 
ง.ความบังเอิญในชีวิตเกิดขึ้นตลอดเวลาปลูกพืชใดย่อมได้ผลนั้น
ตอบ. ข.ปลูกพืชใดย่อมได้ผลนั้น (กฎแห่งกรรมพูดว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
16.ข้อใดไม่ใช่ความหมาย “ศรัทธา” ในพระพุทธศาสนา
          ก.ความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย
          ข.ความเชื่อมั่นในพระปัญญาของพระพุทธเจ้า
          ค.ความเชื่อมั่นในกฎแห่งเหตุและผลของการกระทำในวัฎสงสาร
          ง.ความเชื่อมั่นในความเป็นอมตะของวิญญาณที่ต้องคอยรับผลกรรม
ตอบ. ง.ความเชื่อมั่นในความเป็นอมตะของวิญญาณที่ต้องคอยรับผลกรรม
     - ข้อ ง. ผิด เพราะศาสนาพุทธสอนเรื่องอนัตตา ที่ว่า วิญญาณเป็นอมตะจึงไม่ถูกต้อง

17.ความเชื่อของชาวมุสลิมข้อใดที่ไกล้เคียงกับเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา
ก.ศรัทธาในศาสนาทูตและเทวทูต      
ข.ศรัทธาในกฎสภาวะของพระเจ้า
ค.ศรัทธาในวันพิพากษา                 
ง.ศรัทธาในการละหมาด
ตอบ. ค.ศรัทธาในวันพิพากษา
     - ทั้งนี้คำสอนเรื่อง กรรมในศาสนาพุทธ มีหลักการว่า เราทำอะไร ก็จะได้ผลอย่างนั้น ทำดีก็ได้ดีทำชั่วก็ได้ชั่ว เหมือนวันพิพากษาโลก ที่มุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าจะตัดสินให้คนดีได้ขึ้นสวรรค์ คนชั่วตกนรก ข้อ ค. จึงถูก
     - ศรัทธาในกฎสภาวะของพระเจ้า หมายถึง เชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปตามพระอัลลอฮุกำหนดไว้

18.อริยมรรคเกี่ยวข้องกับไตรสิกขาที่ว่าด้วยปัญญา
ก.สัมมาทิฐิ                                 
ข.สัมมาสติ
ค.สัมมาวายามะ                         
ง.สัมมากัมมันตะ
ตอบ. ก.สัมมาทิฐิ
     - ข้อ ก. สัมมาทิฐิ = เห็นชอบ ถือเป็นคำสอนระดับ ปัญญา
     - ข้อ ข สัมมาสติ = ระลึกชอบ ถือเป็นคำสอนระดับสมาธิ
     - ข้อ ค สัมมาวายามะ = เพียรพยายามชอบ ถือเป็นคำสอนระดับศีล
     - ข้อ ง สัมมากัมมันตะ = การกระทำชอบ ถือเป็นคำสอนระดับศีล
19.การให้ทาน ตามคำสั่งสอนตามพระพุทธศาสนา มีจุดประสงค์หลักเพื่ออะไร
ก.ชำระความโลกในใจ                                          
ข.สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม
ค.ทำความดีเพื่อส่งผลให้เกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี        
ง.เพื่อให้ตนได้ทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นที่ขาดแคลน
ตอบ. ง.เพื่อให้ตนได้ทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นที่ขาดแคลน
20.หลักธรรมในข้อใดของศีล 5 ในศาสนาพุทธที่ตรงกับหลักธรรมของศาสนาอื่น มากที่สุด
ก.การไม่ลักขโมย                                             
ข.การไม่ล่วงประเวณี
ค.การไม่ฆ่าไม่เบียดเบียน                                 
ง.การไม่เสพสิ่งเสพติดให้โทษ
ตอบ. ก.การไม่ลักขโมย  
     - ข้อ ข และ ค มีบางศาสนาที่สามารถทำได้ คือสามารถฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร สามรถมีภรรยาได้หลายคน
     - ข้อ ง ศาสนาคริสต์ดื่มไวน์ในการประกอบศาสนพิธี


แบบฝึก ทบทวนความจำ เรื่องคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ชุดที่ 1 ดาวน์โหลด คลิกที่นี่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น