วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

2.3 มาตรฐานวิชาชีพ

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖

“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและ
บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

“ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริม
การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา
ทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายใน
เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษา
ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

“บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการ
หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษา
ในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา

“มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ
ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตน

“มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และ
ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องมีเพียงพอที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้

“มาตรฐานการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือการแสดงพฤติกรรม
การปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดผล
ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝนให้มีทักษะหรือ
ความชำนาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“มาตรฐานการปฏิบัติตน” หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพ ที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผน
ในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ
ชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม
อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า
หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้

ก) มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้

๑) ความเป็นครู
๒) ปรัชญาการศึกษา **เพิ่ม**
๓) ภาษาและวัฒนธรรม (เดิม ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู”)
๔) จิตวิทยาสำหรับครู
๕) หลักสูตร **เพิ่ม**
๖) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (รวมจาก มาตรฐานเป็น มาตรฐาน)
๗) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (เดิม การวิจัยทางการศึกษา”)
๘) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
๙) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
๑๐) การประกันคุณภาพการศึกษา
๑๑) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ **เพิ่ม**

ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลกัสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี  และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้
1.การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
2.การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
๑) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
๒) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
๓) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เติบโตเต็มตามศักยภาพ
๔) พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้จริงในชั้นเรียน
๕) พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
๖) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์โดยเน้น
ผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
๗) รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
๘) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
๙) ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
๑๐) ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
๑๑) แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา

๑๒) สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

มาตรฐานการปฏิบัติตน

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติตนตามข้อบังคับคุรุสภา

ว่าด้วย จรรยาบรรณของวิชาชีพ


บทเฉพาะกาล
ข้อ 15 ข้อบังคับนี้ไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบรรดาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ใช้มาตรฐานวิชาชีพตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ.2548
ข้อ 16 ให้สถาบันที่ยังปรับปรุงหลักสูตรไม่แล้วเสร็จตามข้อบังคับนี้ ยังคงใช้หลักสูตรตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ.2548 ไปพลางก่อน ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามปีหลังจากวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ข้อ 17 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่ใช้มาตรฐานวิชาชีพตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 ที่ต้องการขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตให้มาขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในห้าปีนับตั้งแต่วันที่สำเร็จการศึกษา
ผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภาให้การรับรองตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรของวิชาชีพ พ.ศ.2548 สามารถใช้เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ภายในห้าปีนับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภาให้การรับรองตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 สามารถใช้เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริาหรสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาได้ภายในห้าปีนับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภาให้การรับรองตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 สามารถใช้เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ได้ภายในห้าปีนับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ


1. ข้อใด มีความหมายตรงกับ คำว่า “ครู” คือ “ผู้หนัก” ตามความหมายของท่านพระพุทธทาสภิกขุ 
ก. ครู คือ เรือจ้าง 
ข. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ 
ค. ครู คือ ผู้สร้างโลก 
ง. ครู คือ เจ้าหนี้อยู่เหนือศีรษะ 
ตอบ ข้อ ง. ครู คือ เจ้าหนี้อยู่เหนือศีรษะ 
2. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของครู ยุคโลกาภิวัตน์ 
ก. ผู้ให้ความรู้ 
ข. ผู้ให้เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ 
ค. ผู้นำทางชีวิต 
ง. ผู้จัดไฟแห่งการเรียนรู้ 
ตอบข้อ ค. ผู้ นำทางชีวิต 
3. ในยุคสมัยของโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร ครู ต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อความก้าวหน้าอยู่เสมอ ข้อใด กล่าวถูกต้อง 
ก. เป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ 
ข. ติดตาม ความก้าวหน้าเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
ค. เป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ เช่น แนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ 
ง. ถูกทุกข้อ 
ตอบข้อ ง. ถูก ทุกข้อ 
4. ข้อใด ไม่ใช่ บทบาทของครูต่อการสร้างเยาวชน 
ก. ครูเป็นนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา 
ข. ครูเป็นผู้ร่วมแก้ปัญหาเด็กกับครอบครัวและชุมชนไม่เพิก เฉยต่อการคุ้มครองสิทธิเด็ก 
ค. พัฒนาศักยภาพใน การจัดประสบการณ์และวิชาชีพ 
ง. เป็นแบบอย่างที่ ดี เป็นผู้เสียสละ เป็นที่ พึ่งของเด็ก 
ตอบข้อ ค. พัฒนาศักยภาพในการจัดประสบการณ์และ วิชาชีพ 
5. ครูเป็นผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับประเทศชาติระดับใด 
ก. ระดับแรงงาน และแรงงานกึ่ง ฝีมือ 
ข. ระดับช่างฝีมือ หรือ ระดับช่างเทคนิค 
ค. ระดับวิชาชีพ 
ง. ถูกทุกข้อ 
ตอบข้อ ง. ถูก ทุกข้อ 
6. บทบาทของครูที่มีต่อ นโยบายของรัฐบาล “4 พฤษภาคม หยุดทำร้ายประเทศทุกฝ่าย หยุดใช้ความรุนแรง” เป็นบทบาทและความสำคัญของครูในด้านใด 
ก. บทบาทต่อการสร้างเยาวชน 
ข. บทบาท ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
ค. บทบาทในการรักษา ชาติ 
ง. บทบาทในการเหยียวยาสังคม 
ตอบข้อ ค. บทบาท ในการรักษาชาติ 
7. ครูให้ความรู้ความเข้าใจประวัติความเป็นมาของชาติไทยปลูกฝังเกิด ความรัก และกตัญญูบรรพบุรุษในการส่งเสริมให้นัก เรียนมีวัฒนธรรมด้านใด 
ก. วิถีชีวิตและภูมิปัญญา ไทย 
ข. สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
ค. วิถี ครอบครัวและชุมชน 
ง. ขนบ ธรรมเนียม และประเพณี 
ตอบข้อ ข. สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
8. การแอบอ้าง หรือนำผลงานทางวิชาการของคน อื่นมาเป็นของตนเป็นการไม่ทำหน้าที่และขาดความรับผิดชอบต่ออะไร 
ก. ต่อสถาบันวิชาชีพครู ข. ต่อศิษย์ 
ค. ต่อ สังคม ง. ถูกทุกข้อ 
ตอบข้อ ก. ต่อ สถาบันวิชาชีพครู 
9. การสอบถามแบบ “ชี้ให้ชัด ชวนปฏิบัติลงมือ กระตือรือร้น มั่นใจ แจ่มใสสนุก” เป็นการอนุเคราะห์ ศิษย์แบบใด 
ก. ให้ศึกษาเล่าเรียนดี 
ข. แนะนำสั่งสอนดี 
ค. ยกย่องให้ ปรากฏในหมู่เพื่อน 
ง. บอกศิลปะให้สิ้นเชิงไม่ปิด บังอำพราง 
ตอบข้อ ข. แนะนำสั่งสอนดี 
10. ค่าว่า TEACHES ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่าครูในปัจจุบันที่สุด 
ก. T = Teaching and Training 
ข. E = Ethics Instruction 
ค. A = Action Research 
ง. C = Cultural Heritage 
ตอบข้อ ก. T = Teaching and Training 
11. ข้อใดไม่ใช่ “เอกลักษณ์ครู” ตามหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) กำหนด 
ก. อด ทน ข. รับผิดชอบต่อหน้าที่ 
ค. น่ารักน่าเคารพ ง. ขยันหมั่นเพียร 
ตอบข้อ ค. น่า รักน่าเคารพ 
12. การทำหน้าที่ของครู ต้องอยู่กับเด็กและ เยาวชนมากพ่อหลายแม่ ต้อทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ คำเสียดสีประชดประชันจากหลายฝ่าย ครู ที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้เป็นครูดี มีกัลยาณมิตรข้อใด 
ก. ปิโย ข. ภาวนีโย 
ค. คัม ภีรัญจะ กถัง กัตตา ง. วจนักขโม 
ตอบข้อ ง. วจนัก ขโม 
13. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของครูที่ดี 
ก. ภูมิรู้ ข. ภูมิธรรม 
ค. ภูมิฐาน ง. ภูมิใจ 
ตอบข้อ ง. ภูมิใจ 
14. ครูที่มีความรอบรู้วิทยาการกว้างขวาง มี ความริเริ่มสร้างสรรค์ มีเจตนาคติที่ดีต่ออาชีพเป็น คุณลักษณะด้านใด 
ก. คุณลักษณะทางด้านส่วนบุคคล 
ข. คุณลักษณะทางด้านวิชาการและงานครู 
ค. คุณลักษณะทางด้านสังคม 
ง. คุณลักษณะทาง ด้านองค์กรครู 
ตอบข้อ ข. คุณลักษณะ ทางด้านวิชาการและงานครู 
15. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะงานของครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา 
ก. รอบรู้สอนดี 
ข. มีคุณธรรมและ จรรยาบรรณ 
ค. มีความก้าวหน้าในผลงานวิชาการ 
ง. มีความมุ่งมั่นพัฒนา 
ตอบข้อ ค. มี ความก้าวหน้าในผลงานวิชาการ 
16. การสร้างความศรัทธาในอาชีพครู ที่ท่าน พุทธทาสภิกขุให้ครูนำไปปฏิบัติคือ 
ก. รักบุคคล อื่น บังคับความรู้สึก 
ข. เชื่อ ว่ามีความเป็นไปได้ 
ค. หน้าที่คือธรรม ธรรมคือหน้าที่ 
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 
ตอบข้อ ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 
17. ศาสนาพุทธมีคำสอนเกี่ยวกับศรัทธาหลายหมวดเพื่อป้องกันความงมงาย ทุกหมวดจึงมีข้อใดคอยดำเนินกับควบคุม 
ก. ทาน ข. ปิยวาจา 
ค. ปัญญา ง. ขันติ 
ตอบข้อ ค. ปัญญา 
18. เมื่อศิษย์ประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า ในชีวิต ครูที่มีพรหมวิหารธรรมจะต้องใช้ธรรมข้อไหน ให้เกิดประโยชน์แก่ศิษย์ 
ก. ทาน ข. กรุณา 
ค. มุทิตา ง. อุเบกขา 
ตอบข้อ ค. มุทิตา 
19. การสร้างความเชื่อมั่น ให้เกิดความขยัน หมั่นเพียร เพื่อประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจ ต่างๆด้วยดี ควรยึดหลักธรรม ทิฎฐธัม มิกัตถประโยชน์ข้อใด 
ก. อุฎฐานสัมปทา 
ข. อารักขสัมปทา 
ค. กัลป์ยาณมิ ตตตาม 
ง. สมชีวิตา 
ตอบข้อ ก. อุ ฎฐานสัมปท 
20. การาฝึกฝน การข่มใจ ฝึก นิสัย ปรับตัว ฝึกหัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้ เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญาควรยึดฆราวาสธรรม 
ก. สัจจะ ข. ทมะ 
ค. ขันติ ง. จาคะ 
ตอบข้อ ข. ทมะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น