วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาผู้เรียน


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีวศึกษา
(พ.ศ.2552-2561)

วิสัยทัศน์
ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล

เป้าหมาย
1. มีการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
2. มีการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา
3. มีการพัฒนาระบบการจ้างงานและกำหนดเงินเดือน / ค่าตอบแทนตามสมรรถนะ
4. ขยายการศึกษาระบบทวิภาคี  สหกิจศึกษา  โดยมีสัดส่วนผู้เรียนทวิภาคี/ สหกิจศึกษาเป็นร้อยละ 30
และเน้นการฝึกงาน
5. เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญเป็น 60 : 40
6. สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านอาชีวศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ
7. จัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐาน
8. ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
9. วิจัย  สร้างนวัตกรรม  พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ
 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่  1  ปฏิรูประบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและเชื่อมต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรการ
            1. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
            2. พัฒนาคุณภาพและสมรรถนะผู้เรียนให้เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานและสังคมทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน
            3. สร้างและพัฒนามาตรฐานหลักสูตร  กระบวนการจัดการเรียนการสอน  การนิเทศ  กำกับ  ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
            4. สนับสนุนทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
            5. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์คุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ (NQF)
            6. เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา  โดยส่งเสริมภาพลักษณ์การอาชีวศึกษาให้บริการสังคมให้เกิดค่านิยมในการเรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญ  60 : 40
            7. ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่การอาชีวศึกษา
            8. พัฒนากำลังคนระดับกลางให้มีความรู้และทักษะฝีมือได้มาตรฐาน

ยุทธศาสตร์ที่  2   เสริมสร้างโอกาสการศึกษาวิชาชีพอย่างเสมอภาค
มาตรการ
            1. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพด้วยรูปแบบที่หลากหลายทั้งในระบบ  นอกระบบ  และทวิภาคี
            2. พัฒนาศักยภาพสถานศึกษาให้เป็นแหล่งบริการความรู้ทางวิชาชีพแก่ชุมชนและสังคม
            3. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชน  ในการสร้างงาน  สร้างรายได้
            4. จัดการศึกษาวิชาชีพที่สร้างโอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส  คนพิการ  ผู้สูงอายุ
            5. ส่งเสริมให้มีการสร้างรายได้ระหว่างเรียนและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง

ยุทธศาสตร์ที่  3   พัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาทุกระดับ
มาตรการ
1. พัฒนากำลังคนให้มีความรู้  และทักษะฝีมือในระดับคุณภาพ
2. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านอาชีพ
3. ส่งเสริมความเป็นเลิศของเยาวชนที่มีความสามารถในทักษะฝีมือ
4. สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีการพัฒนาคุณภาพ และการแข่งขันในเชิงคุณภาพ


ยุทธศาสตร์ที่  4   พัฒนาระบบบริหารจัดการทั้งส่วนกลาง  สถาบันการอาชีวศึกษา  และสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
มาตรการ
            1. พัฒนาโครงสร้างบริหารจัดการและกำหนดภารกิจที่ชัดเจน  ภายใต้กฎหมายระเบียบข้อบังคับที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพปัจจุบัน
            2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
            3. กระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่สถานศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษา
            4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
            5. บริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  มีธรรมาภิบาลโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
            6. พัฒนาระบบการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ
            7. พัฒนาระบบประกันคุณภาพการอาชีวศึกษา
            8. พัฒนาระบบการสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหาร  ครู  และบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลทั้งส่วนกลาง  สถาบัน  และสถานศึกษา
            9. สร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพ  สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรทั้งส่วนกลาง  สถาบันการอาชีวศึกษา   และสถานศึกษา


            ยุทธศาสตร์ที่  5 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
มาตรการ
            1. พัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารของผู้บริหาร  ครู   บุคลากรการอาชีวศึกษาและนักเรียนนักศึกษา
            2. พัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคี
            3. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรมวิชาชีพ
            4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ ในการจัดการอาชีวศึกษาระดับนานาชาติ
            5. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาทางไกล
            6. จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา
            7. ปรับระบบความร่วมมือและเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคน

            ยุทธศาสตร์ที่ 6 : จัดอาชีวศึกษาเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐ
            มาตรการ
            1. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            2. พัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และเขตพื้นที่ชายแดนภาคใต้
            3. พัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและเขตพื้นที่ชายแดนภาคใต้
            4. พัฒนาการจัดอาชีวศึกษาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
            5. ทำนุ  บำรุง  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะ  วัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่  7  ผลักดันการบูรณาการการวิจัยและพัฒนา  ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา
มาตรการ
            1. พัฒนาการวิจัย   นวัตกรรม  สิ่งประดิษฐ์ อย่างมีประสิทธิภาพ
            2. นำองค์ความรู้  นวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการเรียนการสอน
            3. ถ่ายทอดองค์ความรู้  นวัตกรรมและเทคโนโลยี  สิ่งประดิษฐ์ไปสู่ชุมชน  และพัฒนาสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันระดับสากล
            4. ส่งเสริมการจดสิทธิบัตร  และปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาการอาชีวศึกษา
            5. พัฒนาระบบบริหารจัดการ  เครือข่ายงานวิจัย  และจัดการองค์ความรู้อาชีวศึกษาทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ
            6. ส่งเสริมการวิจัย  และพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพสู่สากล

หากพิจารณาถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา  ในเชิงระบบสามารถแสดง 
ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1  แสดงรูปแบบเชิงระบบในการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
(ที่มา : อนันท์  งามสะอาด, 2553)
            จากรูปที่ 1   แสดงรูปแบบเชิงระบบในการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน  ดังนี้
                         1.  ปัจจัย (Input) ได้แก่  แนวโน้มการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษ   ที่สอง (2552 – 2561)  พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551  มาตรา 8   และภารกิจของสถานศึกษาอาชีวศึกษา
                         2.  กระบวนการ (Process) ได้แก่  การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้          การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี   การกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  การพัฒนาการวัดและการประเมินผล
                        3.  ผลผลิต (Output) ได้แก่  ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ระดับเทคโนโลยี  มีคุณภาพและสมรรถนะเป็นที่พึงพอใจของสถานประกอบการ และมีปริมาณเพียงพอต่อ     ความต้องการกำลังคน
            
จากรูปแบบเชิงระบบในการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน  สามารถอธิบายได้ ดังนี้
 แนวโน้มการอาชีวศึกษา
             1.  การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (2552 – 2561) ให้ความสำคัญกับการปรับคุณภาพ ค่านิยม   และมาตรฐานการอาชีวศึกษา เนื่องจากการอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคน   ในด้านวิชาชีพ  ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี ไปทำงานในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระ
             2.  พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551  มาตรา 8  การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดได้โดยรูปแบบ ดังต่อไปนี้
                        2.1  การศึกษาในระบบ  เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาอาชีว   ศึกษาหรือสถาบันเป็นหลัก โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการวัด            และการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                         2.2 การศึกษานอกระบบ  เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและ                ความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
                         2.3 การศึกษาระบบทวิภาคี  เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่าง     สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ  รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานของรัฐใน             เรื่องการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน  การวัดและการประเมินผลโดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือ       หน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนากำลังคน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถจัดการศึกษา    ตามวรรคหนึ่งในหลายรูปแบบรวมกันก็ได้ ทั้งนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันนั้นต้องมุ่งเน้นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีเป็นสำคัญ
             3. ภารกิจของสถานศึกษาอาชีวศึกษา มีภารกิจในการผลิตกำลังคนระดับช่างฝีมือ ระดับช่างเทคนิค และ   ระดับเทคโนโลยี โดยเน้นให้มีทักษะที่หลากหลาย (Multi Skill) เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมฐานความรู้  (Social Knowledge Based) เพื่อการพัฒนาประเทศ ตระหนักในความสำคัญของการสร้างคุณภาพ โอกาส ความร่วมมือ และขับเคลื่อนให้การอาชีวศึกษามีความพร้อมรองรับการเปิดเสรีทางการศึกษา พ.ศ.2558  มุ่งเน้นการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาทั้งปริมาณ และคุณภาพ มีสมรรถนะ ทักษะฝีมือ  เป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษา ทั้งในระดับพื้นที่  ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ  เน้นการศึกษาในระบบ นอกระบบ  การศึกษาระบบทวิภาคี  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะร่วมกับสถานประกอบการ  ตอบสนองความต้องการกำลังคนในประเภทวิชาอุตสาหกรรม ประเภทวิชาพาณิชกรรม / บริหารธุรกิจ  ประเภทวิชาคหกรรม  ประเภทวิชาศิลปกรรม ประเภทวิชาเกษตรกรรม  ประเภทวิชา      ประมง   ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว  ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอและประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีรูปแบบเชิงระบบในการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน


การกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
          การกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Smart &Smile)               มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของสถานประกอบการและสังคม ควรพิจารณา ดังนี้
             1.  คุณลักษณะของผู้เรียนอาชีวศึกษา
                         1.1  Smart  ได้แก่
                             1.1.1  เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
                             1.1.2  เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ได้แก่  มีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์  มีความสนใจด้านวัฒนธรรมไทยหรือศิลปะและวรรณกรรม  มีความสามารถในการเล่นกีฬา  มีความรู้พื้นฐานภาษาต่างประเทศ  มีความรู้ ทักษะ                ด้านกระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่ม
                              1.1.3  มีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการ
                         1.2  Smile ได้แก่
                                      1.2.1  เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงตนอยู่ในทุกสังคมที่ดีได้อย่างเต็ม
ภาคภูมิ
                     1.2.2  มีเอกลักษณ์ความเป็นคนไทย
                     1.2.3  มีค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคม ได้แก่ รับผิดชอบ มีวินัย  มีน้ำใจ มีมนุษย
                             สัมพันธ์  มีจิตสาธารณะ นิยมประชาธิปไตย  การทำงานเป็นทีม จงรักภักดี
                             ต่อองค์กร    
                   1.2.4  ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ
             2.  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา ควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ กิจกรรมนอกหลักสูตร (Extra  Curricular Activities) กิจกรรมร่วมหลักสูตร (Co – Curricular Activities) กิจกรรมกึ่งหลักสูตร (Semi  Curricular Activities) กิจกรรมพิเศษ (Extra Activities)  กิจกรรมสถานศึกษา (School Activities) กิจกรรมกลุ่ม (Group Activities) กิจกรรมริเริ่ม (Initiate Activities) กิจกรรมครูและนักเรียน (Teacher – Student  Activities) กิจกรรมชีวิตในสถานศึกษา (School – Life Activities) กิจกรรมพัฒนา (Developmental Activities) กิจกรรมสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์ (Creative School Activities) กิจกรรมไม่เป็นทางการ (Informal Activities)
             3.  แนวทางดำเนินการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
             แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาควรพิจารณา ดังนี้
                         3.1 กิจกรรมพัฒนามาตรฐานการอาชีวศึกษาและการเรียนรู้ด้านวิชาชีพตลอดชีวิต พัฒนามาตรฐานอาชีพ พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหลักสูตรวิชาชีพเฉพาะทาง หลักสูตรวิชาชีพทั้งในและนอกระบบให้มีความหลากหลาย เชื่อมโยงกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพและการพัฒนาคุณภาพอาชีวศึกษาบ่มเพาะให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้ มีค่านิยมให้มุ่งสู่การเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น เสริมสร้างให้มีสมรรถนะ ด้านการสื่อสาร ภาษา IT  การคิดวิเคราะห์  ทักษะอาชีพ รองรับการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศ  มีคุณธรรม  จริยธรรม มีจิตสาธารณะ (Public Mind) และวุฒิภาวะทางอารมณ์
                         3.2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ด้านวิชาชีพ สร้างระบบการเรียนรู้อาชีวศึกษาส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้วิชาชีพตลอดชีวิต วัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการมีงานทำ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้สอดคล้องกับภูมิสังคมอาชีพ
                         3.3  กิจกรรมสร้างเครือข่ายชุมชนความรู้ด้านวิชาชีพ พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาชีพในชุมชน ร่วมกับ สถานประกอบการ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ้าน สถาบันศาสนา  สถาบันทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
การพัฒนาการวัดและประเมินผล
             แนวทางการวัดและประเมินผลผู้เรียนอาชีวศึกษา  ควรพิจารณา ดังนี้
             ควรใช้รูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยประเมินตามสมรรถนะงาน สมรรถนะรายวิชา และสมรรถนะผู้เรียน ที่กำหนดในหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency Curriculum) และใช้ข้อสอบ V- net ( Vocational National Education Test  )  ซึ่งเป็นการการทดสอบวัดความรูมาตรฐานทางวิชาการ   และวิชาชีพตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามโครงสรางหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 ปรับปรุง พ.ศ. 2546  โดยใช้คุณวุฒิวิชาชีพ (Vocational Qualification) เป็นฐานเปรียบเทียบในการวัดและประเมิน

ความคาดหวัง (Expectations)
            กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา โดยการสร้างคุณภาพ โอกาส และความร่วมมือ  จะส่งผลให้เกิด ผลผลิต (Output) ได้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค  ระดับเทคโนโลยี  มีคุณภาพและสมรรถนะเป็นที่พึงพอใจของสถานประกอบการ และมีปริมาณเพียงพอ     ต่อความต้องการกำลังคนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดสังคมแห่งปัญญา (Wisdom Society) สร้างความมั่นคงมั่งคั่งในสังคมอุดมปัญญาสนับสนุนสถานศึกษาให้ผลิตกำลังคน ที่เพียงพอเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนจากการพัฒนาอาชีพตามภูมิสังคมอาชีพ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ของประเทศ

เทคนิคการสอน MIAP 
Motivation คือการกระตุ้นความสนใจก่อนเข้าบทเรียน อาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ การใช้คำถามนำ การแสดง หรือทำอะไรก็แล้วแต่ที่จะให้ผู้เข้าเรียนรู้สึก และคิดตามหลังจากนั้นก็ทำการโยงเรื่องไปสู่ขั้นตอนที่สอง
Information ขั้นตอนนนี้จะเป็นการให้เนื้อหากับผู้เข้าอบรม เป็นขั้นตอนของสาระ เนื้อหา รายละเอียด และความรู้ต่างๆ จะอยู่ในช่วงนี้
Aplication เป็นขั้นตอนที่ต้องการตรวจสอบผู้เรียนว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ ขั้นตอนนี้จะถือเป็นการสอบผู้เรียนนั่นเอง อาจจะใช้ข้อสอบหรือใช้การถามคำถาม หรือให้อธิบายให้ฟัง หรือให้แสดงให้ดู ให้ปฏิบัติจริง
Progress ขั้นตอนนี้ก็จะต่อเนื่องกับช่วง Aplication เราก็จะนำเอาผลของการสอบ การปฏิบัติมาทำการตรวจสอบว่าผ่านตามวัตถุประสงค์หรือไม่ แล้วก็ Feedback กลับไป ถ้าไม่บรรลุตามวัตถุปรสงค์เราก็จะรู้ว่าผู้เรียนยังขาดความรู้อะไร และก็ทำการแก้ไข แล้วก็สรุปทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง
สัดส่วนของ MIAP ช่วง Motivation ก็จะใช้เวลาสั้นๆ ประมาณ 5-10% ของเวลาสอน ช่วง Information ก็จะใช้เวลาประมาณ 70-80% และช่วง Aplication ก็ใช้ประมาณ 20% ส่วน Progress ก็ประมาณ 5-10%
การใช้ MIAP มาช่วยในการสอนจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าการสอนของเราบรรลุวัตถุประสงค์จริงๆ ในหนึ่งวัตถุปรสงค์เราอาจจะใช้ 1 MIAP หรือ 2 หรือ 3 MIAP ก็ได้ไม่มีการกำหนดตายตัว ถ้าเรามีการวางแผนการสอนที่ดี จะทำให้เราไม่หลุด เนื้อหาไม่ตกหล่น ผู้เรียนก็จะได้เรียนตามวัตถุประสงค์ การเรียนการสอนก็จะประสบผลสำเร็จครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น