วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การวิจัยทางการศึกษา


การวิจัยการศึกษา คือ กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ที่นำไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


วิจัยในชั้นเรียน
เป็นการวิจัยที่ครูทำเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของผู้เรียนบางคน บางกลุ่ม หรือทั้งหมด ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียน การสอน และพฤติกรรมของผู้เรียน โดยมีกระบวนการวางแผน ปฏิบัติตามแผน สังเกตผลที่เกิดขึ้น และการสะท้อนความคิด



ลำดับขั้นตอนการทำวิจัย 

กำหนดปัญหา > ตั้งสมมุติฐาน > รวบรวมข้อมูล > วิเคราะห์ข้อมูล > สรุปผล

การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียน  มิใช่ เพื่อขอผลงานของผู้ทำวิจัย


ส่วนประกอบของรายงานการวิจัย

บทที่ 1 บทนำ
-ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
-วัตถุประสงค์การวิจัย
-ขอบเขตการวิจัย
-ประโยน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่  2    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
-แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
-กรอบแนวคิดในการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
-รูปแบบการวิจัย
-ขั้นตอนการดำเนินการ
-เครื่องมือวิจัย
-การเก็บรวบรวมข้อมูล
-วิธีวิเคราห์ข้อมูล

บทที่ 4     ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติภาคพรรณนาและสถิติภาคอนุมาน เลือกใช้สถิติใด เมื่อไร ขึ้นอยู่กับการบรรยายสรุปข้อมูลที่ได้มา จำนวน ตัวแปร ตัวแปรนั้น ๆ ให้ใช้ประเภทใด และแหล่งข้อมูล มาจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง เช่น ค่าร้อยละ  (percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้  Z-test  หรือ  t-test

บทที่ 5     สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
   -  สรุปผลการวิจัย
   -  อภิปรายผลการวิจัย
   -  ข้อเสนอแนะ

Reliability  ความเชื่อมั่น เป็นค่าความคงที่ของผลการวัดที่มีความสม่ำเสมอคงที่และแน่นอนจากเครื่องมือเดียวกันไม่ว่าจะทำการวัดกี่ครั้งจะให้ผลการวัดเท่าเดิม หรือใกล้เคียงกับของเดิมนั่นคือ เครื่องมือมีความเชื่อมั่นสูง

Validity (ความเที่ยงตรง) เป็นการวัด  ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และพฤติกรรมที่ต้องการให้วัด วัดได้ครอบคลุมครบถ้วนตามเนื้อหาที่ต้องการวัดและวัดได้ถูกต้องตรงความเป็นจริง

Discrimination   ค่าอำนาจจำแนก เป็นคุณสมบัติที่บ่งบอกถึงความสามารถของข้อสอบที่จำแนกเด็กเก่ง – อ่อน ข้อสอบข้อใดมีอำนาจจำแนกสูง (0.4-0.99) ก็เป็นข้อสอบที่ดี หมายถึง ข้อสอบข้อนี้คนทำถูกจะเป็นพวกกลุ่มเก่ง ถ้าใครทำผิดจะเป็นพวกกลุ่มอ่อน

Difficulty ระดับความยากง่าย ( p ) หมายถึง  สัดส่วนของจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบได้ถูกต้องต่อจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบทั้งหมด  
ตัวอย่างเช่น  p =  0.95  แสดงว่า  มีผู้ตอบถูกจำนวนมาก  จึงถือว่าเป็นข้อสอบที่ง่าย  แต่ในทางกลับกัน  ถ้าข้อสอบมีผู้ตอบถูกน้อย เช่น  p =  0.15  แสดงว่า  เป็นข้อสอบที่ยาก

ความเป็นปรนัย (Objectivity) 
-คำถามมีความชัดเจน ชี้เฉพาะ อ่านแล้วเข้าใจตรงกัน 
-การตรวจให้คะแนนมีความแน่นอน ตรงกันไม่ว่าใครจะตรวจก็ตาม
-แปลความได้ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น